หน้าแรก


คำว่า ท่องเที่ยว คือการเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นสากล ๓ ประการดังนี้

 

๑.

เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว

 

๒.

เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ

 

๓.

เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้

นักท่องเที่ยว จะนำเงินไปใช้จ่ายเป็น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางเพื่อชมสถานที่ต่างๆ  ค่าซื้อของฝากของที่ระลึก และอื่นๆ อีกจำนวนมาก เงินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวไทย จะกระจายไปสู่กลุ่มอาชีพต่างๆ ทุกอาชีพ

การเดินทางท่องเที่ยวเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด ได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ได้พบเห็นภูมิประเทศที่แปลกตา และได้สร้างสัมพันธ์กับคนต่างถิ่นด้วย การคมนาคมสะดวก ธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางมากมายธุรกิจต่างๆ ก่อให้เกิดงานอาชีพใหม่ การกระจายเงินตรา ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศ 

 

๑.

ก่อให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก

 

๒.

รายได้จากการท่องเที่ยวจะมีผลทบทวีคูณ ในการสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

 

๓.

การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค

 

๔.

การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดผลดีในรูปการผลิตสินค้าพื้นเมือง สินค้าของที่ระลึก ตลอดจนบริการในท้องถิ่น

 

๕.

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สิ้นเปลื้องวัตถุดิบ ผลผลิตขายได้ทุกเวลา

 

๖.

การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดการว่างงาน ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยว

ปัจจัยภายใน

 

๑.

ทรัพยากรการท่องเที่ยว

ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวซึ่งหมายถึงสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรม และวัฒนธรรม ประเพณี ที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น ๓ ประการ คือ

   

๑.๑

ประเภทธรรมชาติ มีความสวยงามตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา น้ำตก ถ้ำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์อุทยานแห่งชาติ

   

๑.๒

ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถาน และศาสนา ได้แก่ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน

   

๑.๓

ประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม รูปแบบในลักษณะพิธี งานประเพณี ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต

 

๒.

ความปลอดภัย นักท่องเที่ยวจะคำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นสำคัญ

 

๓.

โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกหลัก เช่น ถนน สะพาน สนามบิน สถานีรถโดยสาร ไฟฟ้า ประปา ระบบสื่อสารที่ทันสมัย

 

๔.

สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การคมนาคม พิธีการ เข้าเมืองและบริการข่าวสาร ที่พัก ร้านอาหาร บริการนำเที่ยว

 

๕.

สินค้าของที่ระลึก ต้องมีการควบคุมคุณภาพ กำหนดราคา ส่งเสริมการใช้วัสดุพื้นบ้าน การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ การบรรจุหีบห่อที่สวยงาม

 

๖.

การโฆษณา การเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์

 

๗.

ภาพลักษณ์ของประเทศ ประเทศไทยอุดมด้วยมรดกทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม


ปัจจัยภายนอก

 

๑.

สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของโลก สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเดินทางท่องเที่ยวจะอ่อนตัวลง

 

๒.

ความนิยมในการท่องเที่ยว

 

๓.

การขยายเส้นทางคมนาคม เช่น ท่าอากาศยานเครื่องบิน ส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัด

 

๔.

การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง การท่องเที่ยวจึงมีบทบาทมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนอย่างยิ่ง

*******************************************


นักท่องเที่ยว หรือ บุคคลที่มิได้มีที่พำนักอาศัยถาวรในราชอาณาจักรไทย เดินทางเข้ามาเพื่อพักผ่อน เยี่ยมญาติมิตร ศึกษาหาความรู้ การกีฬา การศาสนา ติดต่อธุรกิจหรือประกอบภารกิจใดๆ ทั้งนี้ต้องมิได้รับค่าจ้างในการประกอบภารกิจนั้นจากผู้ใดในราชอาณาจักรไทย และเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแค่ครั้งละอย่างน้อย ๑ คืน แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน

คำจำกัดความนี้เป็นคำจำกัดความที่ใช้กันทั่วโลก โดยยึดตามข้อกำหนดขององค์การท่องเที่ยวโลก (WTO) ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคำจำกัดความนี้ จะถูกคัดออกไม่นับว่าเป็นนักท่องเที่ยว จะถือเป็นผู้โดยสารเท่านั้น

การนับจำนวนนักท่องเที่ยว จะนับจดจากบัตรเข้าเมือง ซึ่งควบคุมโดยกองตรวจคนเข้าเมือง จะทำการนับจดทุกบัตร จากทุกด่านที่เป็นจุดเข้าเมืองของประเทศไทย นับตั้งแต่ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่และชายแดนทุกจุด ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลและสุดท้ายได้นำผลเข้าที่ประชุมในคณะอนุกรรมการสถิติและวิจัยทางการท่องเที่ยว ก่อนที่จะนำออกเผยแพร่ทั่วไป

เล็กๆ น้อยๆ

การคำนวณทางรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีวิธีคิดคำนวณ จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแต่ละปี และคูณด้วยจำนวนวันพักเฉลี่ย และคูณด้วยค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยนั้น พบว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ตามลำดับความสำคัญดังนี้

 

๑.

ค่าใช้สอยเกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒๗-๓๐

 

๒.

ค่าที่พักเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒๖

 

๓.

ค่าอาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๗

 

๔.

ค่าบริการขนส่งเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๕

 

๕.

ค่าบริการบันเทิงต่างๆ เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๐

 

๖.

อื่นๆ เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๓

จากข้อมูลตัวเลขดังกล่าว จึงเป็นข้อยืนยันถึงรายได้ที่เจ้าบ้าน เจ้าของท้องถิ่นจะได้รับ

*******************************************



 

๑.

สำรวจ ค้นหา สถานที่ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน รวบรวมข้อมูล เส้นทาง ประวัติ ความสำคัญ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์

 

๒.

วางแผนพัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว สร้างจิตสำนึกทำแผนพัฒนาทุกด้าน การอนุรักษ์ การป้องกันทรัพยากรการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมด้านนันทนาการตามแหล่งท่องเที่ยว และการบริหารพัฒนาบุคลากร

 

๓.

จัดให้มีการดูแลรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว วางระบบในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินและสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะที่พัก อาหาร และเครื่องดื่ม

 

๔.

การบริการและการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ดูแลบริการสาธารณะทุกด้านรวมทั้งระบบการจัดเก็บหรือทำลายขยะ การบำบัดน้ำเสีย การจัดเก็บผลประโยชน์ การจัดทำของที่ระลึกชุมชน การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เช่น อาสาสมัครประจำท้องถิ่น ที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยว

 

๕.

การทำประชาสัมพันธ์และการตลาดการท่องเที่ยว เผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวให้แก่สาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมาย แผ่นพับ ฯลฯ


บ้านเรา

 

๑.

ยิ้มแย้มแจ่มใส ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตร

 

๒.

จัดการท่องเที่ยวให้เป็นผล ชุมชนต้องร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดูแล

 

๓.

อาคารบ้านเรือน ร่วมกันรักษาให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้มีความสวยงามอยู่ตลอดเวลา

 

๔.

ธรรมชาติ คือขุมทรัพย์ต้องอนุรักษ์และรู้จักใช้ประโยชน์

 

๕.

นักท่องเที่ยวเป็นคนสำคัญ ต้องช่วยกันดูแลให้ความปลอดภัย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

 

๖.

ส่งเสริมอาชีพ สร้างงานหัตถกรรม นำรายได้สู่ท้องถิ่น

 

๗.

บูรณะโบราณสถานให้สวยงาม ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

 

๘.

รักษาความดีงามของชุมชนให้ยั่งยืนตลอดไป


จะทำอย่างไร ?

 

๑.

สร้างนักท่องเที่ยวให้เกิดขึ้น

 

๒.

รักษานักท่องเที่ยวให้คงอยู่ยั่งยืน

 

๓.

สร้างรายได้หรือกำไรจากการท่องเที่ยวแก่ท้องถิ่น

*******************************************


การเดินทางท่องเที่ยวแม้นว่าจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย ๔ ของการดำเนินชีวิต แต่ก็เป็นเรื่องขอการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นนันทนาการ เป็นสิ่งที่พึงปราราถนาในการเสริมคุณภาพชีวิต การท่องเที่ยวก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

 

๑.

เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชนในท้องถิ่น

 

๒.

เกิดประโยชน์ต่อแหล่งท่องเที่ยว

 

๓.

เกิดประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวโดยตรง

ท้องถิ่นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเดินทางไปถึง

   

ต้องใช้จ่ายเงินเป็นค่าอาหาร หากพักค้างคืนจะมีค่าที่พัก ของที่ระลึก ค่าบริการอื่นๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมุนเวียนกระจายไปในระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น

   

เกิดการลงทุนและจ้างงานใหม่เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

   

การท่องเที่ยวเป็นสื่อในการเผยแพร่ การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เจ้าของเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในคุณค่าของความงดงามทางธรรมชาติและมรดก ศิลปวัฒนธรรมของตนเอง

นักท่องเที่ยวได้อะไรจากการเดินทางท่องเที่ยวทุกคนจะมีความคิดเห็นตรงกันคือ

 

๑.

ได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่

 

๒.

ได้พบได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

 

๓.

ได้สัมผัสกับวิถีทางการดำเนินชีวิตของผู้คนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม

 

๔.

ได้พักผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย จากความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน

 

๕.

ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

 

๖.

ได้มีโอกาสสังสรรค์ สร้างความเป็นมิตรไมตรีกับเจ้าของท้องถิ่น

 

๗.

ตระหนักในคุณค่าของความสามัคคีในระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มในหมู่คณะเดียวกัน

ทัศนคติของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ประทับใจเมื่อได้มาเที่ยวเมืองไทยจากตัวเลขจากการสำรวจ โดยการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศใน ปี ๒๕๓๐ มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

 

๑.

นักท่องเที่ยวประทับใจในการที่ได้รับประทานอาหารที่มีให้เลือกหลากหลายในประเทศไทยร้อยละ ๖๙.๑

 

๒.

นักท่องเที่ยวประทับใจประชาชนชาวไทยและวิถีชีวิตของคนไทย ร้อยละ ๕๙.๒

 

๓.

นักท่องเที่ยวประทับใจในความงามของทิวทัศน์ทางธรรมชาติ ร้อยละ ๕๘.๓

 

๔.

นักท่องเที่ยวประทับใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ร้อยละ ๕๕.๒

 

๕.

นักท่องเที่ยวประทับใจในสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ร้อยละ ๔๘.๒

 

๖.

นักท่องเที่ยวประทับใจในการซื้อสินค้าพื้นเมือง ร้อยละ ๔๗.๑

 

๗.

นักท่องเที่ยวประทับใจในการเจรจาต่อรองในการซื้อสินค้า ร้อยละ ๔๓.๗

 

๘.

นักท่องเที่ยวประทับใจในสถานเริงรมย์ยามราตรี ร้อยละ ๓๙.๙

 

๙.

นักท่องเที่ยวประทับใจกิจกรรมว่ายน้ำและอาบแดด ร้อยละ ๓๘.๗

 

๑๐.

นักท่องเที่ยวประทับใจเทศกาลและงานประเพณีต่างๆ ร้อยละ ๒๑.๘

 

๑๑.

นักท่องเที่ยวประทับใจสถานบริการ อาบ อบ นวด ร้อยละ ๑๗.๕

 

๑๒.

นักท่องเที่ยวประทับใจร้านค้าปลอดภาษี ร้อยละ ๑๔.๓

 

๑๓.

นักท่องเที่ยวประทับใจประสบการณ์และโอกาสทางธุรกิจ ร้อยละ ๑๒.๙

 

๑๔.

นักท่องเที่ยวประทับใจการตั้งค่ายพักแรมและการเดินป่า ร้อยละ ๑๐.๗

 

๑๕.

นักท่องเที่ยวประทับใจเรื่องอื่นๆ ร้อยละ ๕.๖

   

ความประทับใจของนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกา ประทับใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ประชาชนชาวไทย และวิถีชีวิตคนไทย การได้รับประทานอาหารที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาด ความงามของทิวทัศน์ทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ การได้เจรจาต่อรองในการซื้อสินค้าและการซื้อสินค้าพื้นเมือง

   

นักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรป เช่น จากประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ประทับใจประชาชนชาวไทย และวิถีชีวิตของคนไทย การได้รับประทานอาหารที่มีให้เลือกมากมาย ความงามของทิวทัศน์ทางธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ การว่ายน้ำและอาบแดด การได้เจรจาต่อรองในการซื้อสินค้า

   

นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก จากประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรีย เกาหลี สิงคโปร์ อินเดีย และจีน ประทับใจในการได้รับประทานอาหารที่มีให้ เลือกทุกภาคของประเทศ ทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม วิถีชีวิตของคนไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย สถานเริงรมย์ยามราตรี การซื้อสินค้าพื้นเมือง การได้เจรจาต่อรองในการซื้อสินค้า

   

นักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง จากกลุ่มประเทศอาหรับทั้งหมด ประทับใจในการรับประทานอาหารที่มีสีสัน รสชาดแปลกไปจากประเทศอื่นๆ ในโลกใบนี้ ประชาชนคนไทย วิถีชีวิตคนไทย ทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม สถานเริงรมย์ยามราตรี สถานที่ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย และการซื้อสินค้าพื้นเมือง

*******************************************

  

การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง การปรับปรุงแก้ไขและรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  และกิจกรรมต่างๆ  ให้คงความงดงามและมีคุณค่าเป็นทรัพยากรของชาติสืบไป พร้อมทั้งใช้ทรัพยากรที่มี ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเยือนในท้องถิ่นของตน

การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว ทุกคนสามารถ “ร่วมใจและร่วมแรง” กระทำได้ดังนี้

 

รักษาสภาพธรรมชาติให้คงความสมบูรณ์ให้มากที่สุด 

 

ช่วยกันปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกต้นไม้ เพิ่มความสวยงามของภูมิทัศน์ตามแหล่งท่องเที่ยว

 

บูรณปฏิสังขรณ์แหล่ง โบราณสถาน โบราณวัตถุอย่างถูกวิธี เพื่อรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติที่มีอายุนับร้อยนับพันปีให้คงอยู่ตลอดไป 

 

ส่งเสริมและฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมของท้องถิ่น 

 

ส่งเสริมและรักษาศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ดังเดิมของท้องถิ่นโดย การฟื้นฟู การผลิตมาเป็นสิ่งของที่ระลึก เพื่อจำหน่าย แก่นักท่องเที่ยว 

 

ปรับปรุงและสร้างเสริมสิ่งสาธารณูปโภค บริเวณแหล่งท่องเที่ยว เช่น พัฒนาถนน ทำป้ายชี้ทาง ทำที่จอดรถ ทำห้องสุขา 

 

 

อำนวยความสะดวกให้คนในท้องถิ่นที่จะมาพักผ่อนหย่อนใจและนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่น

 

รักษาสภาพแวดล้อมรอบตัวเราไม่ให้เสื่อมโทรม มีธรรมชาติที่สวยงาม  

 

สังคมประเทศไทยมีสมบัติวัฒนธรรมประจำชาติที่น่าภาคภูมิใจ เช่น การสวัสดี การไหว้ การแต่งกาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทุกคนควรรักษามรดกของชาติร่วมกันไว้ 

 

คนในท้องถิ่นต้องร่วมกันรณรงค์ สร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของ การดูแลบำรุงรักษาเฝ้าระวัง รักษาความสะอาด ทรัพยากรการท่องเที่ยวถือว่าเป็นทุนทรัพย์ของชาติ เป็นมรดกล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงเรา ขุมทรัพย์การท่องเที่ยว ทำให้เกิดวงจรเศรษฐกิจที่ดีในกลุ่มคนหลายอาชีพ เช่นร้านขายอาหาร ภัตตาคาร ขายของที่ระลึก ธุรกิจบันเทิง บริการขนส่ง ที่พักโรงแรม การบริการจัดนำเที่ยว เป็นต้น 

ข้องดเว้นการกระทำบางอย่างต่อแหล่องท่องเที่ยวจึงเท่ากับช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว

 

๑.

งดเว้นการทำลายป่า ต้นน้ำลำธารของน้ำตกซึ่งเป็นแหล่งการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญ

 

๒.

งดเว้นการขีดเขียนตามผนังถ้ำ

 

๓.

งดเว้นการทุบทำลาย หินงอกหินย้อย ภายในถ้ำเพราะธรรมชาติใช้เวลาสร้างสมเป็นเวลานับหมื่นปีจึงจะมีสภาพความงดงามได้ ต้องดูแลเฝ้าระวังให้คนมักง่าย โยก บิด หัก ขีด เขียน ระเบิดทำลายส่วนใดส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

 

๔.

งดเว้นการทิ้งขยะสิ่งฏิกูลทำให้สถานที่ขาดความสวยงามโดยสิ้นเชิง เช่น แหล่งน้ำตก หาดทราย ชายทะเล ถนนเส้นทางคมนาคม

 

๕.

งดเว้นการทำลายรื้อถอน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสิ่งของสาธารณสถาน

 

๖.

งดเว้นการลักขโมยโบราณวัตถุสถานหรือบุกรุกพื้นที่เขตโบราณสถาน

 

๗.

การกระทำที่ต้องงดเว้นทั้งหมด เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษถึงจำคุกและเสียค่าปรับทั้งสิ้น

 

๘.

ด้วยสำนึกที่ดีของคนในท้องถิ่นจะต้องรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกันไว้เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยว เพราะมีคุณค่าทางจิตใจมีผลดีต่อเศรษฐกิจของท้องถิ่นทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างเงินแก่เจ้าบ้านที่ดี ทุกคนจะได้เงินจากการขายอาหาร เครื่องดื่ม บริการที่พักแรม บริการรถรับส่งนำเที่ยว นำสินค้าศิลปหัตถกรรมขายเป็นของที่ระลึก รวมตลอดจนวัดหรือโบราณสถานมีโอกาสได้รับเงินบริจาคนักท่องเที่ยวเพื่อนำไปใช้บูรณปฏิสังขรณ์กันต่อไปได้อีกด้วย

*******************************************



มารยาทในการเข้าสังคม
มารยาทในการไปเยี่ยมผู้อื่น

โอกาสที่จะไป

การเยี่ยมเป็นการแสดงอัธยาศัยไมตรีของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ส่วนมากจะไปเมื่อผู้ที่เราจะเยี่ยมได้รับความทุกข์ มีความสุข ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติด้วยความสัมพันธ์เป็นส่วนตัวหรือธุรกิจการงาน เช่น ไปเยี่ยมเมื่อมีกรณีเจ็บป่วย ไฟไหม้ ตาย ขึ้นบ้านใหม่ คลอดบุตร ครบรอบวันเกิด ได้เลื่อนยศตำแหน่ง ฯลฯ

มารยาทและวิธีปฏิบัติ

 

๑.

ในบางโอกาสอาจมีของไปเยี่ยมด้วย เป็นการแสดงน้ำใจไมตรี

 

๒.

ควรมีการนัดหมายล่วงหน้าทางโทรศัพท์หรือจดหมาย เพื่อความสะดวกของเจ้าบ้านและต้องไปถึงให้ตรงเวลา

 

๓.

ถ้าบ้านที่ไปเยี่ยมนั้นมีประตูรั้วรอบขอบชิด ก่อนเข้าบ้านควรเคาะประตูหรือกดกริ่งเสียก่อน ถ้าเป็นการพบครั้งแรกควรส่งนามบัตรหรือแจ้งความประสงค์แก่ผู้มาเปิดรับเพื่อแจ้งเจ้าของบ้าน

 

๔.

เมื่อพบเจ้าของบ้านหรือผู้ที่เราไปเยี่ยม ควรทำความเคารพหรือทักทายตามความเหมาะสม ถ้ามีผู้ใหญ่ในครอบครัวควรทำความเคารพท่านด้วย

 

๕.

ถ้าคุ้นเคยกันมาก่อน ควรไต่ถามทุกข์สุขของบุคคลในครอบครัวตามสมควร

 

๖.

ไม่ควรอยู่นานเกินไป เมื่อหมดธุระหรือใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหารของเจ้าของบ้าน ควรลากลับ

 

๗.

ไม่ควรไปเยี่ยมพร่ำเพรื่อนัก เพราะอาจรบกวนเจ้าของบ้านจนเกินความจำเป็น

 

๘.

ไม่ควรพาเพื่อนฝูงหรือบุตรหลานไปด้วย เพราะอาจจะก่อความรำคาญให้แก่เจ้าของบ้านได้


ข้อเสนอแนะ

 

๑.

ควรถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้สวมได้

 

๒.

ถ้าเจ้าของบ้านนำน้ำหรือเครื่องดื่ม หรือของว่างมารับรองก็ดื่มและรับประทานพอสมควร

 

๓.

ถ้าในที่รับรองมีพระพุทธรูปและผู้ไปเยี่ยมเป็นพุทธศาสนิกชน ควรแสดงความเคารพด้วยการกราบหรือไหว้

 

๔.

ถ้าในที่รับรองมีสัญลักษณ์ของศาสนาที่ต่างไปจากผู้ที่ไปเยี่ยมควรให้ความเคารพด้วยอาการสำรวม

 

๕.

ผู้ไปเยี่ยมควรพิจารณาว่า เมื่อได้จังหวะอันสมควรจึงควรเอ่ยถึงจุดประสงค์ของการเยี่ยมเยียน หลังจากได้ทักทายปราศรัยกันแล้ว

 

๖.

ไม่ควรติเตียนสภาพของบ้านหรือพูดถึงเรื่องที่ทำให้เจ้าของบ้านไม่สบายใจ

 

๗.

ไม่ควรขอสิ่งที่เจ้าของบ้านพาไปชมหรือนำมาให้ชมด้วยความภาคภูมิใจ

 

๘.

ในกรณีที่ไปต่างถิ่นผู้ไปเยี่ยมควรศึกษาประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยเพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

 

๙.

ในกรณีที่ผู้ไปเยี่ยมมีหลายคนและใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหารควรหาที่รับประทานให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเจ้าของบ้าน

 

๑๐.

ในกรณีที่มีผู้เยี่ยมรายอื่นมาในขณะที่กำลังสนทนากันอยู่ ผู้มาเยี่ยมควรรีบพูดธุระให้เสร็จแล้วลากลับ

*******************************************

 

นายอำนวย ปานนุ้ย
การพูดต่อกลุ่มบุคคล

การพูด เป็นศิลปพูด อย่างไรให้ เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางฝึกฝนอบรมได้ พัฒนาได้


การพูดต่อที่ชุมชน

 

๑.

มีความรับผิดชอบต่อผู้ฟัง

 

๒.

มีความรับผิดชอบต่อตนเอง

 

๓.

มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวม


ทำอย่างไรจึงจะพูดได้ดี

๑.

รู้จักเลือกพูดในสิ่งที่มีประโยชน์ และบังเกิดผล

๒.

พูดสั้น ได้เนื้อหา ใช้เวลาน้อย

๓.

พูดแล้วไม่เกิดผลเสียต่อผู้พูดเอง


ก่อนจะพูดจะต้องศึกษาอะไรบ้าง

๑.

ผู้ฟังเป็นใคร

๒.

อายุของผู้ฟัง

๓.

เพศของผู้ฟัง

๔.

กลุ่มผู้ฟัง

๕.

พื้นฐานการศึกษา

๖.

อาชีพ

๗.

เรื่องที่จะพูด

๘.

ความคิดเห็นของผู้ฟัง

๙.

สรรพนาม/คำพูดที่ใช้

๑๐.

คำควบกล้ำ

๑๑.

ภาษาต่างประเทศ ใช้กับใคร เหมาะสมไหม

๑๒.

ท่าที น้ำเสียง

๑๓.

จังหวะจะโคน

๑๔.

ระดับเสียงต่างกัน

๑๕.

ความรู้สึกเป็นมิตรเป็นธรรมชาติ


การพูดอ่านหน้าที่ชุมชนมีความสำคัญต่อผู้พูดอย่างยิ่ง เพราะ

๑.

มีคนฟัง

๒.

ต้องมีเนื้อหาสาระ

๓.

มีประโยชน์ต่อผู้พูด-ต่อผู้ฟัง

๔.

เกิดประโยชน์นำไปใช้ได้


การพูดต่อที่ชุมชน เกิดจาก

๑.

มนุษย์รวมตัวกันเป็นหมู่เหล่า

๒.

มนุษย์มีภาษาเป็นสื่อถ่ายทอดความหมาย

๓.

มีผู้นำมาและผู้ตาม

๔.

การชักชวน การออกคำสั่ง

๕.

มีการชี้แจงต่อบุคคลหมู่มาก

๖.

การพูดจึงมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

๗.

การถ่ายทอดความคิด ภูมิปัญญา การเขียน การพูด


ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

๑.

ผู้พูดที่ดี มีความศรัทธาเลื่อมใส พัฒนาตนเอง

๒.

ใฝ่หาความรู้ พูดมีเนื้อหา ฟังมากๆ อ่านมาก

๓.

ช่างสังเกตและจดจำ ถ้อยคำสำนวนดีๆ

๔.

หมั่นฝึกฝน

๕.

มีความจริงใจ ในเรื่องที่พูด ผู้พูด ผู้ฟัง

๖.

การพูดจะต้องพัฒนาตลอดเวลา


ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการพูดที่เห็นทั่วไป

๑.

พูดยาวไป ไม่รู้จักกาละเทศะ

๒.

พูดสั้นไป ขาดความรู้ ขาดสาระ

๓.

พูดไม่ชวนฟัง ขาดศิลปในการถ่ายทอด

๔.

พูดไม่รู้เรื่อง ผู้ฟังจับใจความไม่ได้

๕.

พูดไม่ถูกหู พูดแล้วไม่เกิดประโยชน์

๖.

เกิดจากอุปนิสัยของผู้พูด พูดไม่น่าฟัง พูดจาลามก

ใส่ความเห็น